วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำงานด้านการข่าวที่ถูกต้องควรทพชำอย่างไร

สธ.2 ต้องมีความรอบรู้อย่างดีในเรื่องต่อไปนี้...
๑. ภารกิจของหน่วยและสภาพการยุทธ์ขณะนั้น
ดูได้จากคำสั่งยุทธการของ กกล.นเรศวรประจำปี/การจัดเฉพาะกิจ
๒. ลักษณะของแหล่งข่าว(ขีดความสามารถ/ข้อจำกัด)
มีกี่ประเภท(ชป.ข่าวลับ)
ขีดความสามารถ/คุณสมบัติของการหาข่าวอยู่ในเกณฑ์ดี
ข้อจำกัดที่ตรวจพบ แบ่งออกเป็น ๔ ประเด็นได้แก่(STAC)
๒.๑ Sponcer
๒.๒ เป้าหมาย(Target)
๒.๓ แหล่งข่าว(Agency)
๒.๔ การติดต่อสื่อสาร(Communication)
๓. พื้นที่ปฏิบัติการ(เพื่อกำหนดผลของพื้นที่)
๔. รอบรู้เรื่องขั้นตอนในการวางแผนรวบรวมข่าวสาร
๕. รอบรู้เรื่องวิธีการรวบรวมข่าวสาร
๖. คุณลักษณะของฝ่ายตรงข้าม
๗. สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น - ปชช.

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Policy Implementation / การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Policy Implementation กำลังจะกลายเป็นวิกฤติขององค์กรต่างของประเทศไทยไปแล้ว ประเทศมีเงินมีงบประมาณที่จัดเก็บได้จากเงินภาษีของประชาชน มีการกำหนดนโยบายในการใช้เงินอย่างสวยหรู แต่กลับนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ไม่เป็น ที่เป็นอยู่ก็แค่ใช้เงินเป็นมากกว่าซึ่งผิดวัตถุประสงค์ตามหลักการของการบริหารการพัฒนา
สิ่งที่น่าแปลกใจมากอย่างหนึ่ง กล่าวคือกระบวนการ Policy Implementation นั้นมีอยู่ในแผนการพัฒนาของทุกองค์กร แต่ผู้นำองค์กรกลับไม่เห็นความสำคัญของมัน จะเห็นความสำคัญก็ต่อเมื่อต้องการขอรับงบประมาณเท่านั้น/เห็นเป็นหลักฐานประกอบการยืมเงินมั้ง? ซึ่งน่าคิดดีนะ
Policy Implementation คือกระบวนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในแง่คิดทางการทหารเรามักเรียกว่า การจัดทำแผนการทัพ(Campaign Plan)ซึ่งเป็นการแปลงแนวคิดทางยุทธศาสตร์ไปสู่แผนในระดับยุทธการและ ระดับยุทธวิธี เป็นกระบวนการของการวางแผนย้อนกลับอันน่าตื่นตะลึง แผนการทัพ(Campaign Plan)ปัจจุบันกำลังเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆตามรูปแบบการบริการงานความมั่นคงแบบบูรณาการแบบไม่แยกส่วน/หรือองค์กรความมั่นคงใหม่ ในยุคของความมั่นคงแบบCompehensive Security(ความมั่นคงแบบเบ็ดเสร็จ)/ซึ่งเป็นเรื่องที่ภัยคุกคามต่างๆล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนแยกกันไม่ออกอีกแล้ว เนื่องด้วยปัจจัยของ เวลา(Time)และพื้นที่(Space)ในการรับรู้ข่าวสารคน ในโลกแบบGlobal village(หมู่บ้านโลก)
องค์กรพลเรือนมีกระบวนการในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติเช่นกันโดยมีรูปแบบที่เรียกกันแตกต่างออกไปโดยการกำหนดยุทธศาสตร์มักเรียกว่าการกำหนดแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้นทำการกำหนดแผนงาน(Program) และโครงการ(Project)/กิจกรรม(Activity)ตามลำดับขั้น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนวความคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติ

แนวคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร หรือที่เรานิยมเรียกว่าการคิดเชิงกลยุทธ์/Strategic Thinking ผู้เขียนขอกล่าวตามจริงว่า เพึ่งทราบกรอบแนวคิดยุทธศิลปที่สำคัญของเรื่องนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง
ไม่น่าเชื่อว่า ขั้นตอนกระบวนการ(Process)ของการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการคิดเชิงกลยุทธ์ทางทหารจะประกอบด้วย ๖ ขั้นตอนคือ
๑. การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
๒. การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
๓. การกำหนดอัตราส่วน
๔. พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
๕. กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
๖. ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
กล่าวโดยสรุปแล้วได้กรอบแนวคิดที่น่าสนใจของการคิดเชิงกลยุทธ์ดังนี้
ปัจจัยนำเข้า(In put)ประกอบด้วย
- ภารกิจแถลงใหม่
- เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา(ความมุ่งหมาย(ทำไปทำไม) - วิธีการ - ผลลัพธ์ที่ต้องการ(เรา,ขศ.,พื้นที่))
- ประมาณการข่าวกรอง
กระบวนการ/โปรแกรมที่ใช้ดำเนินการ(Process) ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
- การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
- การกำหนดอัตราส่วน
- พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
- กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
ผลผลิตที่ต้องการ(Out put)
- ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
- ประมาณการข่าวกรองล่าสุด
- บทสรุปของ หป.ที่เสนอ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเปิดหน้าต่างบานที่ ๑

ผู้อ่านหลายคนที่ติดตามงานเขียนของผม อ่านจะรู้สึกสับสนกับการตั้งชื่อเรื่องของบทความชิ้นนี้ของผม แต่อยากเรียนว่าชื่อเรื่องของผมไม่ผิดหลอกครับ มันชื่อเรื่องการเปิดหน้าต่างบานที่ ๑ จริงๆ
การเปิดหน้าต่างบานที่ ๑ แท้จริงแล้วเป็นบริบทแรกของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงตัวเองประกอบด้วยเรื่องหลักๆดังนี้
๑.๑ เรื่องการใส่ใจต่อเสียงของตัวเองมากขึ้น
คนเราไม่ได้มีร่างเดียวนะครับมันมีอยู่ ๒ ร่างในคนๆหนึ่งหรือถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็คือว่าเรามีทั้งส่วนที่เราตระหนัก(จิตสำนึก) และไม่ตระหนักนั่นเอง(จิตใต้สำนึก)
๑.๒ ควรรู้จักวิจารณ์ตัวเองเสียบ้าง
คนเรามักจะมองเห็นปัญหาตรงหน้า หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แต่มักไม่มองปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ว่าแท้จริงแล้วมันเกิดจากความบกพร่องของตัวเราเองบ้างหรือเปล่า เราควรรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเราเอง ไม่ใช่เก่งแต่จะวิจารณ์คนอื่นเป็นอย่างเดียว
๑.๓ เราอยู่ตรงจุดไหน
เพื่อนร่วมงานของผมหลายๆคน เมื่อจบโรงเรียน เสธ.ฯมาแล้วมักพูดว่า งานส่วนใหญ่ที่จะได้รับมักเป็นงานในลักษณะผู้ช่วยเสียมากกว่า แต่หลังจากนั้นก็เริ่มได้รับงานที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น ผมได้ยินแล้วรู้สึกส่งสารและเห็นใจต่อวิสัยทัศน์ที่มีต่อการทำงานของเพื่อน ทำไมหรอครับ คนเราควรรู้ว่าตัวเราเองกำลังยืนอยู่ในจุดไหนของวงจรชีวิตหรือวงจรความก้าวหน้า รู้ว่าจุดต่อไปที่จะไปยืนอยู่อยู่ที่จุดไหน เช่นการทำกราฟชีวิตทำให้เราเป็นนักการทหารที่ทำงานอย่างมี ยศ. อาชีพทหารเป็นอาชีพของงานยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง
๑.๔ เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียดซิ
คนเราไม่มีวันหลีกหนีสงครามได้ สงครามที่แท้จริงคือสงครามในจิตใจคน เช่นกันเราไม่อาจหลีกหนีความเครียดได้หรอกครับ ทางที่ดีที่สุดเราควรคิดว่าความเครียดที่ดีก็ดี หรือความเครียดที่ไม่ดีต่อตัวเราก็มี ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน
การต่อสนองของความเครียดของคนเรามี ๓ ระยะ (ควรป้องกันอย่าให้ถึงระยะที่ ๓)
ระยะที่ ๑ เราเรียกว่าการที่ร่างกายทำงานในลักษณะเชิงป้องกัน
ระยะที่ ๒ ร่างกายเกิดการต่อต้าน(มันฝั่งไปอยู่ที่จิตใต้สำนึก)
ระยะที่ ๓ ระยะร่างกายหมดแรง
๑.๕ สิ่งไหนเป็นสิ่งที่คิดไปเอง?
คนเรามักจะคิดกังวลไปกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ เราควรใช้สติและตระหนักรู้ตัวตน ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่คิดไปเอง(สิ่งที่เราไม่มี)และสิ่งไหนคือสิ่งที่เป็นจริง(สิ่งที่เรามี) การพูดย้ำกับตัวเองบ่อยๆ เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นใจ รวมทั้งการอยู่กับความเป็นจริงปัจจุบัน การทำสิ่งใดก็ตาม ทำเท่าที่ทำได้ ทำบ่อยๆย่อมเกิดทักษะเอง(แต่ต้องหมั่นฝึกฝนตัวเองนะครับ)
๑.๖

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลักการเข้าหาผู้บังคับบัญชาแบบถูกหลักหวงจุ้ย(น่าสนใจ)

การเป็นฝ่ายเสธ.ที่ดี นอกจากควรรู้ว่า ควรเข้าผู้ใหญ่เวลาใดถึงจะถูกกาละเทศะแล้ว มีสิ่งที่ผมแปลกใจประการหนึ่งคือ ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันเลยว่า เราควรเข้าหาจากทางด้านไหนถึงจะดีที่สุด (อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะครับ) ผมคิดว่ารู้ไว้ ก็คงไม่เสียหายอะไร
หลักการมีอยู่ว่าคนเรานั้นล้วนมีทั้งด้านที่สะดวก และไม่สะดวก เคล็ดลับอยู่ที่ ถ้าคุณรู้ว่านายของคุณ มีด้านที่สะดวกอยู่ทางด้านขวาหรือซ้ายแล้วละก็ จะทำให้สามารถสร้างสัมพันธ์ได้อย่างราบรื่นทีเดียว
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า นายมีด้านที่สะดวก อยู่ทางด้านไหน?
ตอบ.หลักการว่าไว้ว่า ให้ลองสังเกตว่าเขาสะพายกระเป๋าด้านไหน ด้านนั้นจะเป็นด้านที่ไม่สะดวก เพราะเขากำลังใช้มันเพื่อการปกป้อง เขาจึงป้องกันด้านนั้นอย่างเต็มที่
ดังนั้นถ้าเราเข้าหา/หรือนั่งในด้าน ที่อีกฝ่าย " ไม่"สะพายกระเป๋า ซึ่งเป็นด้านที่สะดวกของเขา เขาก็จะเปิดใจรับคุณได้ง่านขึ้นและรู้สึกอุ่นใจกว่า
ยกตัวอย่างเช่น

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

กฏยิ่งพยายามจะยิ่งยาก(Reverse Effort)

กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า"เมื่อไหร่ที่ความตั้งใจ (จิตสำนึก) และความรู้สึก /จิตนาการ(จิตใต้สำนึก) ขัดแย้งกัน ความรู้สึก(จิตใต้สำนึก) มักชนะเสมอ
สูตร : จิตสำนึกกำลังสอง = จิตใต้สำนึก
๑ = ๑
๒ = ๔
๓ = ๙
นักกระโดดสูงเหรียญทองโอลิมปิกกล่าวว่า " ตอนที่เริ่มกระโดด ผมจำไม่ได้ว่าสถิติของผมอยู่ที่เท่าไหร่ แต่ผมรู้ว่าตอนเริ่มกระโดด ผมรู้สึกอย่างแรงในใจว่า ผมทำได้แน่" นั่นหมายถึงเขาทำให้ความรู้สึก(Genie)ในตัวเอง มีพลังมากกว่าความคิด(สำนึก) จึงเกิดพลัง
อัจฉริยะอย่างไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า"หากให้เลือกระหว่างความรู้กับจิตนาการ ผมเลือกที่จะมีจินตนาการมากกว่า"แสดงว่าเขาเป็นอัจฉริยะได้ เพราะรู้จักการใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกของตัวเอง ดีกว่าคนอื่นๆนั่นเอง
กล่าวโดยสรุปคือ ถ้าต้องการใช้ Genie ต้องเรียนโดยใช้สมองซีกขวาให้มากดังนี้
๑.เรียนรู้แบบความคิดรวบยอดเช่นการอ่านหนังสือแบบ Mind Map
๒.การยิ้มที่ถูกต้อง
๓.ผ่อนคลาย

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุณกำลังขุดอุโมงค์อยู่หรือเปล่า

เป้าหมายมีไว้พุ่งชน เป็นวลีหนึ่งของโฆษนาน้ำมันเครื่องยี่ห้อหนึ่ง ผมฟังแล้วรู้สึกทึ่งกับคำพูดนี้ เพราะมันโดนใจ แต่ก็อย่างว่า สมัยนี้ใครๆก็สรรหามาพูดได้ แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ถึงวิธีการพุ่งชนที่ถูกต้อง
การพุ่งชนเป้าหมาย(Strick) นั้นสำคัญ แต่คุณจะพุ่งชนมันยังไง การพุงชนที่ถูกต้องต้องใช้เวลา โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าเราควรเรียกมันว่าการขุด(Drive) มากกว่า เพราะคุณไม่มีวันทำอะไรสำเร็จได้ ถ้าไม่มีทักษะในตัว และทักษะไม่มีทางสร้างขึ้นมาได้ในชั่วข้ามคืน
การลงทุนกับชีวิตตัวเอง เปรียบได้กับการขุดอุโมงค์ให้ทะลุถึงกัน โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นที่ต่างกันทั้ง๒ ด้าน แล้วให้มาบรรจบกัน นั่นแหละที่ถูกต้อง มีดังนี้
--การขุดอุโมงค์ที่๑ หมายความถึงการขุดด้วยทักษะของตัวเอง(สิ่งที่มี)หรือการทำในสิ่งที่ทำได้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ แต่ขอให้ลองทำดู
--การขุดอุโมงค์ที่๒หมายความถึงการขุดด้วยจิตใต้สำนึกของตัวเอง(Genie within)หรือการฝึกพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อชี้นำจิตใต้สำนึ สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณควรรู้ คือพฤติกรรมของเป้าหมาย ว่าเป็นอย่างไร เช่นถ้าคุณต้องการประสบผลสำเร็จในเรื่องต้นไม้ ควรถามตัวเองต่อไปว่า ถ้าเป็นเซียนต้นไม้แล้ว คุณจะทำอะไร?ตอบข้อ๑,๒และอื่นๆ เมื่อรู้คำตอบ ก็ทำเลยไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จหรอก ทำพฤติกรรมของคุณออกมาเลย เพื่อช้นำ จินนี่ของคุณ