วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Policy Implementation / การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Policy Implementation กำลังจะกลายเป็นวิกฤติขององค์กรต่างของประเทศไทยไปแล้ว ประเทศมีเงินมีงบประมาณที่จัดเก็บได้จากเงินภาษีของประชาชน มีการกำหนดนโยบายในการใช้เงินอย่างสวยหรู แต่กลับนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ไม่เป็น ที่เป็นอยู่ก็แค่ใช้เงินเป็นมากกว่าซึ่งผิดวัตถุประสงค์ตามหลักการของการบริหารการพัฒนา
สิ่งที่น่าแปลกใจมากอย่างหนึ่ง กล่าวคือกระบวนการ Policy Implementation นั้นมีอยู่ในแผนการพัฒนาของทุกองค์กร แต่ผู้นำองค์กรกลับไม่เห็นความสำคัญของมัน จะเห็นความสำคัญก็ต่อเมื่อต้องการขอรับงบประมาณเท่านั้น/เห็นเป็นหลักฐานประกอบการยืมเงินมั้ง? ซึ่งน่าคิดดีนะ
Policy Implementation คือกระบวนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในแง่คิดทางการทหารเรามักเรียกว่า การจัดทำแผนการทัพ(Campaign Plan)ซึ่งเป็นการแปลงแนวคิดทางยุทธศาสตร์ไปสู่แผนในระดับยุทธการและ ระดับยุทธวิธี เป็นกระบวนการของการวางแผนย้อนกลับอันน่าตื่นตะลึง แผนการทัพ(Campaign Plan)ปัจจุบันกำลังเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆตามรูปแบบการบริการงานความมั่นคงแบบบูรณาการแบบไม่แยกส่วน/หรือองค์กรความมั่นคงใหม่ ในยุคของความมั่นคงแบบCompehensive Security(ความมั่นคงแบบเบ็ดเสร็จ)/ซึ่งเป็นเรื่องที่ภัยคุกคามต่างๆล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนแยกกันไม่ออกอีกแล้ว เนื่องด้วยปัจจัยของ เวลา(Time)และพื้นที่(Space)ในการรับรู้ข่าวสารคน ในโลกแบบGlobal village(หมู่บ้านโลก)
องค์กรพลเรือนมีกระบวนการในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติเช่นกันโดยมีรูปแบบที่เรียกกันแตกต่างออกไปโดยการกำหนดยุทธศาสตร์มักเรียกว่าการกำหนดแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้นทำการกำหนดแผนงาน(Program) และโครงการ(Project)/กิจกรรม(Activity)ตามลำดับขั้น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนวความคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติ

แนวคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร หรือที่เรานิยมเรียกว่าการคิดเชิงกลยุทธ์/Strategic Thinking ผู้เขียนขอกล่าวตามจริงว่า เพึ่งทราบกรอบแนวคิดยุทธศิลปที่สำคัญของเรื่องนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง
ไม่น่าเชื่อว่า ขั้นตอนกระบวนการ(Process)ของการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการคิดเชิงกลยุทธ์ทางทหารจะประกอบด้วย ๖ ขั้นตอนคือ
๑. การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
๒. การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
๓. การกำหนดอัตราส่วน
๔. พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
๕. กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
๖. ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
กล่าวโดยสรุปแล้วได้กรอบแนวคิดที่น่าสนใจของการคิดเชิงกลยุทธ์ดังนี้
ปัจจัยนำเข้า(In put)ประกอบด้วย
- ภารกิจแถลงใหม่
- เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา(ความมุ่งหมาย(ทำไปทำไม) - วิธีการ - ผลลัพธ์ที่ต้องการ(เรา,ขศ.,พื้นที่))
- ประมาณการข่าวกรอง
กระบวนการ/โปรแกรมที่ใช้ดำเนินการ(Process) ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
- การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
- การกำหนดอัตราส่วน
- พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
- กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
ผลผลิตที่ต้องการ(Out put)
- ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
- ประมาณการข่าวกรองล่าสุด
- บทสรุปของ หป.ที่เสนอ