วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนวความคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติ

แนวคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร หรือที่เรานิยมเรียกว่าการคิดเชิงกลยุทธ์/Strategic Thinking ผู้เขียนขอกล่าวตามจริงว่า เพึ่งทราบกรอบแนวคิดยุทธศิลปที่สำคัญของเรื่องนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง
ไม่น่าเชื่อว่า ขั้นตอนกระบวนการ(Process)ของการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการคิดเชิงกลยุทธ์ทางทหารจะประกอบด้วย ๖ ขั้นตอนคือ
๑. การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
๒. การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
๓. การกำหนดอัตราส่วน
๔. พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
๕. กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
๖. ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
กล่าวโดยสรุปแล้วได้กรอบแนวคิดที่น่าสนใจของการคิดเชิงกลยุทธ์ดังนี้
ปัจจัยนำเข้า(In put)ประกอบด้วย
- ภารกิจแถลงใหม่
- เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา(ความมุ่งหมาย(ทำไปทำไม) - วิธีการ - ผลลัพธ์ที่ต้องการ(เรา,ขศ.,พื้นที่))
- ประมาณการข่าวกรอง
กระบวนการ/โปรแกรมที่ใช้ดำเนินการ(Process) ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
- การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
- การกำหนดอัตราส่วน
- พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
- กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
ผลผลิตที่ต้องการ(Out put)
- ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
- ประมาณการข่าวกรองล่าสุด
- บทสรุปของ หป.ที่เสนอ

1 ความคิดเห็น: