วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดทฤษฏีในการพัฒนาประเทศ

หลักการของทฤษฏีกระแสหลัก
โดยรวมแล้วประกอบด้วย ๒ ทฤษฏีหลักๆได้แก่
๑.ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) มีประเด็นที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
-สาเหตุของการพัฒนา แนวทางในการพัฒนาคือ ปัจจัยภายในทำให้เกิดการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา
-ยุทธศาสตร์พัฒนา แนวทางในการพัฒนาคือ ยศ.แบบมุ่งไปข้างนอก
-กระบวนการพัฒนา แนวทางในการพัฒนาคือ เป็นเส้นตรงค่อยเป็นค่อยไป
-เป้าหมาย แนวทางการพัฒนาคือ Economic Growth หรือการเจริญเติบโตทางเศรษกิจและความมีเสถียรภาพ
-แนวคิดหลักที่สำคัญที่สุดของ Economic Growth คือแนวคิด Neo-Classical Economic มีสมมุติฐาน ดังนี้
-รัฐแทรกแซงให้น้อยที่สุด เน้นกลไกตลาด
- รัฐอำนวยความสะดวก
-นโยบายแรงงาน แรงงานต้องมีราคาไม่สูง เพื่อส่งเสริมการลงทุน
บทสรุปที่น่าสนใจของแนวคิดแบบEconomic Growth กล่าวคือเกิดปัญหาการว่างงานสูงในเขตเมืองและเขตชนบท ดังนั้นในช่วงต้นทศวรรษปี 1970 จึงเกิดกระแสใหม่ ของการพัฒนาที่ให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการกระจายรายได้ (Redistribution with Growth)
๒.ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization) มีประเด็นที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
-แนวคิดทฤษฎีภาวะทันสมัยเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าความเจริญหรือการพัฒนาสามารถที่จะแผ่ขยายจากสังคม หรือประเทศที่เจริญกว่าไปยังสังคมหรือประเทศที่ล้าหลัง
-โดยประเทศที่เจริญกว่าเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้ประเทศที่ล้าหลังสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะทางเศรษฐกิจ,สังคม,การเมืองและการบริหาร ให้มีลักษณะเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วเคยใช้มา
-MODERNIZATION เกิดการเคลื่อนไหว 3 รูปแบบการเคลื่อนไหวทางกายภาพ ,การเคลี่อนไหวทางจิต และการเคลื่อนไหวทางสังคม

ซึ่งทั้ง ๒ แนวคิดมีอิทธิพลมาจากโลกตะวันตกที่ต้องการจะพัฒนาประเทศที่กำลังพัฒนาต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย โดยยึดตัวแบบ (Model) ของประเทศตะวันตกเป็นแม่แบบ ซึ่งถ้าหากจะกล่าวไปแล้วความสำเร็จของการพัฒนาตามแนวกระแสหลักนี้มิได้จะสำเร็จได้ตามเป้าหมายทุกประการ