วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเปิดหน้าต่างบานที่ ๑

ผู้อ่านหลายคนที่ติดตามงานเขียนของผม อ่านจะรู้สึกสับสนกับการตั้งชื่อเรื่องของบทความชิ้นนี้ของผม แต่อยากเรียนว่าชื่อเรื่องของผมไม่ผิดหลอกครับ มันชื่อเรื่องการเปิดหน้าต่างบานที่ ๑ จริงๆ
การเปิดหน้าต่างบานที่ ๑ แท้จริงแล้วเป็นบริบทแรกของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงตัวเองประกอบด้วยเรื่องหลักๆดังนี้
๑.๑ เรื่องการใส่ใจต่อเสียงของตัวเองมากขึ้น
คนเราไม่ได้มีร่างเดียวนะครับมันมีอยู่ ๒ ร่างในคนๆหนึ่งหรือถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็คือว่าเรามีทั้งส่วนที่เราตระหนัก(จิตสำนึก) และไม่ตระหนักนั่นเอง(จิตใต้สำนึก)
๑.๒ ควรรู้จักวิจารณ์ตัวเองเสียบ้าง
คนเรามักจะมองเห็นปัญหาตรงหน้า หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แต่มักไม่มองปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ว่าแท้จริงแล้วมันเกิดจากความบกพร่องของตัวเราเองบ้างหรือเปล่า เราควรรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเราเอง ไม่ใช่เก่งแต่จะวิจารณ์คนอื่นเป็นอย่างเดียว
๑.๓ เราอยู่ตรงจุดไหน
เพื่อนร่วมงานของผมหลายๆคน เมื่อจบโรงเรียน เสธ.ฯมาแล้วมักพูดว่า งานส่วนใหญ่ที่จะได้รับมักเป็นงานในลักษณะผู้ช่วยเสียมากกว่า แต่หลังจากนั้นก็เริ่มได้รับงานที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น ผมได้ยินแล้วรู้สึกส่งสารและเห็นใจต่อวิสัยทัศน์ที่มีต่อการทำงานของเพื่อน ทำไมหรอครับ คนเราควรรู้ว่าตัวเราเองกำลังยืนอยู่ในจุดไหนของวงจรชีวิตหรือวงจรความก้าวหน้า รู้ว่าจุดต่อไปที่จะไปยืนอยู่อยู่ที่จุดไหน เช่นการทำกราฟชีวิตทำให้เราเป็นนักการทหารที่ทำงานอย่างมี ยศ. อาชีพทหารเป็นอาชีพของงานยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง
๑.๔ เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียดซิ
คนเราไม่มีวันหลีกหนีสงครามได้ สงครามที่แท้จริงคือสงครามในจิตใจคน เช่นกันเราไม่อาจหลีกหนีความเครียดได้หรอกครับ ทางที่ดีที่สุดเราควรคิดว่าความเครียดที่ดีก็ดี หรือความเครียดที่ไม่ดีต่อตัวเราก็มี ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน
การต่อสนองของความเครียดของคนเรามี ๓ ระยะ (ควรป้องกันอย่าให้ถึงระยะที่ ๓)
ระยะที่ ๑ เราเรียกว่าการที่ร่างกายทำงานในลักษณะเชิงป้องกัน
ระยะที่ ๒ ร่างกายเกิดการต่อต้าน(มันฝั่งไปอยู่ที่จิตใต้สำนึก)
ระยะที่ ๓ ระยะร่างกายหมดแรง
๑.๕ สิ่งไหนเป็นสิ่งที่คิดไปเอง?
คนเรามักจะคิดกังวลไปกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ เราควรใช้สติและตระหนักรู้ตัวตน ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่คิดไปเอง(สิ่งที่เราไม่มี)และสิ่งไหนคือสิ่งที่เป็นจริง(สิ่งที่เรามี) การพูดย้ำกับตัวเองบ่อยๆ เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นใจ รวมทั้งการอยู่กับความเป็นจริงปัจจุบัน การทำสิ่งใดก็ตาม ทำเท่าที่ทำได้ ทำบ่อยๆย่อมเกิดทักษะเอง(แต่ต้องหมั่นฝึกฝนตัวเองนะครับ)
๑.๖