วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

สุดยอดของการเรียนรู้

สุดยอดของการเรียนรู้
มีคนเคยถาม เพลโต นักปราชญ์ ที่มีชื่อเสียงของโลกว่า การแข่งขันกีฟา เรามักมีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศแต่ทำไมถึงไม่มีการมอบรางวัล สำหรับนักปราชญ์ ท่านเพลโตกล่าวตอบว่า" ส่วนใหญ่ในการแข่งขันกีฟา เรามอบรางวัลให้แก่นักกีฟา เพราะรางวัลนั้นมีค่ากว่านักกีฟา แต่ที่ไม่มอบให้แก่นักปราชญ์เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะมีค่ามากกว่าความรู้อีกแล้วในโลกนี้" ความรู้จึงมีค่ามากที่สุด
คนที่มีเสน่ย์หมายถึงคนที่มีความเปล่งประกายจากภายใน ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ความรู้นั่นเอง แต่ความรู้ที่เราพูดถึง มันเป็นความรู้ลักษณะไหนกันหละ ?
คำตอบที่ชัดเจนที่สุดสำหรับผมคือลักษณะความรู้ที่เป็นระบบ ดีที่สุด หรือการเรียนรู้ที่เรามักเรียกกันว่า การเรียนรู้แบบความคิดรวบยอด /องค์รวม นั่นเอง
การเรียนแบบความคิดรวบยอด เป็นที่มาของศิลป(ART) หรือการประยุกต์สร้างสรรค์ นั้นสำคัญที่สุด คนเรามักต่างกันที่ความคิด ดังนั้นจึงมักต่างกันที่วิธีการเรียนรู้
การเรียนแบบศิลป : หมายถึงการเรียนรู้ในภาพรวม/เชิงโครงสร้างก่อน แล้วค่อยเจาะลึกลงในรายละเอียด เปรียบเสมือนการเรียนแบบนก(นกอินทรย์) ที่มองเห็นโครงสร้างของผืนป่า(นกมีวิสัยน์ทัศน์)เวลาต้องการกินเหยื่อก็โฉบลงมาอย่างแม่นยำ การเรียนแบบนี้เขาเรียกว่าการเรียนแบบยุทธศิลป์ (Operatio Art) เพื่อมุ่งตอบคำถามที่สำคัญที่สุดของความรู้ ๓ ประการคือ เมื่อใด(when),ที่ไหน(where),ความมุ่งประสงค์(why) ผลที่ตามมานั้นคือสิ่งที่ทุกคนปราถนาอยากจะมีไว้ประจำตัวนั่นก็คือสิ่งที่เรามักเรียกกันว่าการประยุกต์สร้างสรรค์(Creativity)นั่นเอง
แล้วสิ่งที่เรียกว่า Creativity ในตัวเราจะมากหรือน้อย ดูจากตรงไหน?
ตอบ มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่าว่า กาลครั้งหนึ่ง มีชายชื่อนกกระจิบ ต้องการไฝ่ฝันจะมี Creativity ในตัวจึงไปร่ำเรียนวิชาที่สำนักวิชาชื่อดัง การเรียนของเขามีดังนี้
๑.เรียนตามเอกสารที่อาจารย์ แจก
๒.เปิดอ่านทีละหน้า ไปเรื่อยๆ จนจบ
๓.เรียนแบบย้อนกลับ จากส่วนย่อย ไปหาส่วนใหญ่(ศาสตร์ไปหาศิลป์)
๔.ทำสรุปใว้เพื่อเตรียมสอบ
คนที่เรียนแบบนี้ผมขอเรียกว่าเรียนแบบนกกระจิบ(นกไม่มีวิสัยทัศนนกฉลาดน้อย) มักมองเห็นแต่ต้นไม้ที่มันเกาะ และมักตกเป็นเหยื่อของนกอินทรย์เสมอ