วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การทำงานด้านการข่าวที่ถูกต้องควรทพชำอย่างไร

สธ.2 ต้องมีความรอบรู้อย่างดีในเรื่องต่อไปนี้...
๑. ภารกิจของหน่วยและสภาพการยุทธ์ขณะนั้น
ดูได้จากคำสั่งยุทธการของ กกล.นเรศวรประจำปี/การจัดเฉพาะกิจ
๒. ลักษณะของแหล่งข่าว(ขีดความสามารถ/ข้อจำกัด)
มีกี่ประเภท(ชป.ข่าวลับ)
ขีดความสามารถ/คุณสมบัติของการหาข่าวอยู่ในเกณฑ์ดี
ข้อจำกัดที่ตรวจพบ แบ่งออกเป็น ๔ ประเด็นได้แก่(STAC)
๒.๑ Sponcer
๒.๒ เป้าหมาย(Target)
๒.๓ แหล่งข่าว(Agency)
๒.๔ การติดต่อสื่อสาร(Communication)
๓. พื้นที่ปฏิบัติการ(เพื่อกำหนดผลของพื้นที่)
๔. รอบรู้เรื่องขั้นตอนในการวางแผนรวบรวมข่าวสาร
๕. รอบรู้เรื่องวิธีการรวบรวมข่าวสาร
๖. คุณลักษณะของฝ่ายตรงข้าม
๗. สภาพแวดล้อมในท้องถิ่น - ปชช.

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Policy Implementation / การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Policy Implementation กำลังจะกลายเป็นวิกฤติขององค์กรต่างของประเทศไทยไปแล้ว ประเทศมีเงินมีงบประมาณที่จัดเก็บได้จากเงินภาษีของประชาชน มีการกำหนดนโยบายในการใช้เงินอย่างสวยหรู แต่กลับนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์ที่วางไว้ไม่เป็น ที่เป็นอยู่ก็แค่ใช้เงินเป็นมากกว่าซึ่งผิดวัตถุประสงค์ตามหลักการของการบริหารการพัฒนา
สิ่งที่น่าแปลกใจมากอย่างหนึ่ง กล่าวคือกระบวนการ Policy Implementation นั้นมีอยู่ในแผนการพัฒนาของทุกองค์กร แต่ผู้นำองค์กรกลับไม่เห็นความสำคัญของมัน จะเห็นความสำคัญก็ต่อเมื่อต้องการขอรับงบประมาณเท่านั้น/เห็นเป็นหลักฐานประกอบการยืมเงินมั้ง? ซึ่งน่าคิดดีนะ
Policy Implementation คือกระบวนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ในแง่คิดทางการทหารเรามักเรียกว่า การจัดทำแผนการทัพ(Campaign Plan)ซึ่งเป็นการแปลงแนวคิดทางยุทธศาสตร์ไปสู่แผนในระดับยุทธการและ ระดับยุทธวิธี เป็นกระบวนการของการวางแผนย้อนกลับอันน่าตื่นตะลึง แผนการทัพ(Campaign Plan)ปัจจุบันกำลังเริ่มมีความน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆตามรูปแบบการบริการงานความมั่นคงแบบบูรณาการแบบไม่แยกส่วน/หรือองค์กรความมั่นคงใหม่ ในยุคของความมั่นคงแบบCompehensive Security(ความมั่นคงแบบเบ็ดเสร็จ)/ซึ่งเป็นเรื่องที่ภัยคุกคามต่างๆล้วนเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันจนแยกกันไม่ออกอีกแล้ว เนื่องด้วยปัจจัยของ เวลา(Time)และพื้นที่(Space)ในการรับรู้ข่าวสารคน ในโลกแบบGlobal village(หมู่บ้านโลก)
องค์กรพลเรือนมีกระบวนการในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติเช่นกันโดยมีรูปแบบที่เรียกกันแตกต่างออกไปโดยการกำหนดยุทธศาสตร์มักเรียกว่าการกำหนดแผนปฏิบัติการ หลังจากนั้นทำการกำหนดแผนงาน(Program) และโครงการ(Project)/กิจกรรม(Activity)ตามลำดับขั้น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนวความคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติ

แนวคิดการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร หรือที่เรานิยมเรียกว่าการคิดเชิงกลยุทธ์/Strategic Thinking ผู้เขียนขอกล่าวตามจริงว่า เพึ่งทราบกรอบแนวคิดยุทธศิลปที่สำคัญของเรื่องนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง
ไม่น่าเชื่อว่า ขั้นตอนกระบวนการ(Process)ของการพัฒนาหนทางปฏิบัติของการคิดเชิงกลยุทธ์ทางทหารจะประกอบด้วย ๖ ขั้นตอนคือ
๑. การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
๒. การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
๓. การกำหนดอัตราส่วน
๔. พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
๕. กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
๖. ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
กล่าวโดยสรุปแล้วได้กรอบแนวคิดที่น่าสนใจของการคิดเชิงกลยุทธ์ดังนี้
ปัจจัยนำเข้า(In put)ประกอบด้วย
- ภารกิจแถลงใหม่
- เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา(ความมุ่งหมาย(ทำไปทำไม) - วิธีการ - ผลลัพธ์ที่ต้องการ(เรา,ขศ.,พื้นที่))
- ประมาณการข่าวกรอง
กระบวนการ/โปรแกรมที่ใช้ดำเนินการ(Process) ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์อำนาจกำลังรบเปรียบเทียบ
- การกำหนดกรอบแนวคิดในการกำหนดหนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้
- การกำหนดอัตราส่วน
- พัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติได้แก่ แผนดำเนินกลยุทธ์และโครงร่างสนามรบ
- กำหนดเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา และการกำหนด บก.ของการควบคุมหน่วยรองหลัก
ผลผลิตที่ต้องการ(Out put)
- ข้อความ หป. และแผ่นภาพสังเขป หป.(Out Put)
- ประมาณการข่าวกรองล่าสุด
- บทสรุปของ หป.ที่เสนอ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเปิดหน้าต่างบานที่ ๑

ผู้อ่านหลายคนที่ติดตามงานเขียนของผม อ่านจะรู้สึกสับสนกับการตั้งชื่อเรื่องของบทความชิ้นนี้ของผม แต่อยากเรียนว่าชื่อเรื่องของผมไม่ผิดหลอกครับ มันชื่อเรื่องการเปิดหน้าต่างบานที่ ๑ จริงๆ
การเปิดหน้าต่างบานที่ ๑ แท้จริงแล้วเป็นบริบทแรกของขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงตัวเองประกอบด้วยเรื่องหลักๆดังนี้
๑.๑ เรื่องการใส่ใจต่อเสียงของตัวเองมากขึ้น
คนเราไม่ได้มีร่างเดียวนะครับมันมีอยู่ ๒ ร่างในคนๆหนึ่งหรือถ้าจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็คือว่าเรามีทั้งส่วนที่เราตระหนัก(จิตสำนึก) และไม่ตระหนักนั่นเอง(จิตใต้สำนึก)
๑.๒ ควรรู้จักวิจารณ์ตัวเองเสียบ้าง
คนเรามักจะมองเห็นปัญหาตรงหน้า หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว แต่มักไม่มองปัญหาอย่างตรงไปตรงมา ว่าแท้จริงแล้วมันเกิดจากความบกพร่องของตัวเราเองบ้างหรือเปล่า เราควรรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเราเอง ไม่ใช่เก่งแต่จะวิจารณ์คนอื่นเป็นอย่างเดียว
๑.๓ เราอยู่ตรงจุดไหน
เพื่อนร่วมงานของผมหลายๆคน เมื่อจบโรงเรียน เสธ.ฯมาแล้วมักพูดว่า งานส่วนใหญ่ที่จะได้รับมักเป็นงานในลักษณะผู้ช่วยเสียมากกว่า แต่หลังจากนั้นก็เริ่มได้รับงานที่สำคัญเพิ่มมากขึ้น ผมได้ยินแล้วรู้สึกส่งสารและเห็นใจต่อวิสัยทัศน์ที่มีต่อการทำงานของเพื่อน ทำไมหรอครับ คนเราควรรู้ว่าตัวเราเองกำลังยืนอยู่ในจุดไหนของวงจรชีวิตหรือวงจรความก้าวหน้า รู้ว่าจุดต่อไปที่จะไปยืนอยู่อยู่ที่จุดไหน เช่นการทำกราฟชีวิตทำให้เราเป็นนักการทหารที่ทำงานอย่างมี ยศ. อาชีพทหารเป็นอาชีพของงานยุทธศาสตร์อย่างแท้จริง
๑.๔ เรียนรู้ที่จะอยู่กับความเครียดซิ
คนเราไม่มีวันหลีกหนีสงครามได้ สงครามที่แท้จริงคือสงครามในจิตใจคน เช่นกันเราไม่อาจหลีกหนีความเครียดได้หรอกครับ ทางที่ดีที่สุดเราควรคิดว่าความเครียดที่ดีก็ดี หรือความเครียดที่ไม่ดีต่อตัวเราก็มี ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน
การต่อสนองของความเครียดของคนเรามี ๓ ระยะ (ควรป้องกันอย่าให้ถึงระยะที่ ๓)
ระยะที่ ๑ เราเรียกว่าการที่ร่างกายทำงานในลักษณะเชิงป้องกัน
ระยะที่ ๒ ร่างกายเกิดการต่อต้าน(มันฝั่งไปอยู่ที่จิตใต้สำนึก)
ระยะที่ ๓ ระยะร่างกายหมดแรง
๑.๕ สิ่งไหนเป็นสิ่งที่คิดไปเอง?
คนเรามักจะคิดกังวลไปกับสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ เราควรใช้สติและตระหนักรู้ตัวตน ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่คิดไปเอง(สิ่งที่เราไม่มี)และสิ่งไหนคือสิ่งที่เป็นจริง(สิ่งที่เรามี) การพูดย้ำกับตัวเองบ่อยๆ เป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นใจ รวมทั้งการอยู่กับความเป็นจริงปัจจุบัน การทำสิ่งใดก็ตาม ทำเท่าที่ทำได้ ทำบ่อยๆย่อมเกิดทักษะเอง(แต่ต้องหมั่นฝึกฝนตัวเองนะครับ)
๑.๖

วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2553

หลักการเข้าหาผู้บังคับบัญชาแบบถูกหลักหวงจุ้ย(น่าสนใจ)

การเป็นฝ่ายเสธ.ที่ดี นอกจากควรรู้ว่า ควรเข้าผู้ใหญ่เวลาใดถึงจะถูกกาละเทศะแล้ว มีสิ่งที่ผมแปลกใจประการหนึ่งคือ ไม่ค่อยมีใครพูดถึงกันเลยว่า เราควรเข้าหาจากทางด้านไหนถึงจะดีที่สุด (อย่าคิดว่าไม่สำคัญนะครับ) ผมคิดว่ารู้ไว้ ก็คงไม่เสียหายอะไร
หลักการมีอยู่ว่าคนเรานั้นล้วนมีทั้งด้านที่สะดวก และไม่สะดวก เคล็ดลับอยู่ที่ ถ้าคุณรู้ว่านายของคุณ มีด้านที่สะดวกอยู่ทางด้านขวาหรือซ้ายแล้วละก็ จะทำให้สามารถสร้างสัมพันธ์ได้อย่างราบรื่นทีเดียว
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่า นายมีด้านที่สะดวก อยู่ทางด้านไหน?
ตอบ.หลักการว่าไว้ว่า ให้ลองสังเกตว่าเขาสะพายกระเป๋าด้านไหน ด้านนั้นจะเป็นด้านที่ไม่สะดวก เพราะเขากำลังใช้มันเพื่อการปกป้อง เขาจึงป้องกันด้านนั้นอย่างเต็มที่
ดังนั้นถ้าเราเข้าหา/หรือนั่งในด้าน ที่อีกฝ่าย " ไม่"สะพายกระเป๋า ซึ่งเป็นด้านที่สะดวกของเขา เขาก็จะเปิดใจรับคุณได้ง่านขึ้นและรู้สึกอุ่นใจกว่า
ยกตัวอย่างเช่น

วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

กฏยิ่งพยายามจะยิ่งยาก(Reverse Effort)

กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า"เมื่อไหร่ที่ความตั้งใจ (จิตสำนึก) และความรู้สึก /จิตนาการ(จิตใต้สำนึก) ขัดแย้งกัน ความรู้สึก(จิตใต้สำนึก) มักชนะเสมอ
สูตร : จิตสำนึกกำลังสอง = จิตใต้สำนึก
๑ = ๑
๒ = ๔
๓ = ๙
นักกระโดดสูงเหรียญทองโอลิมปิกกล่าวว่า " ตอนที่เริ่มกระโดด ผมจำไม่ได้ว่าสถิติของผมอยู่ที่เท่าไหร่ แต่ผมรู้ว่าตอนเริ่มกระโดด ผมรู้สึกอย่างแรงในใจว่า ผมทำได้แน่" นั่นหมายถึงเขาทำให้ความรู้สึก(Genie)ในตัวเอง มีพลังมากกว่าความคิด(สำนึก) จึงเกิดพลัง
อัจฉริยะอย่างไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า"หากให้เลือกระหว่างความรู้กับจิตนาการ ผมเลือกที่จะมีจินตนาการมากกว่า"แสดงว่าเขาเป็นอัจฉริยะได้ เพราะรู้จักการใช้ประโยชน์จากจิตใต้สำนึกของตัวเอง ดีกว่าคนอื่นๆนั่นเอง
กล่าวโดยสรุปคือ ถ้าต้องการใช้ Genie ต้องเรียนโดยใช้สมองซีกขวาให้มากดังนี้
๑.เรียนรู้แบบความคิดรวบยอดเช่นการอ่านหนังสือแบบ Mind Map
๒.การยิ้มที่ถูกต้อง
๓.ผ่อนคลาย

วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2553

คุณกำลังขุดอุโมงค์อยู่หรือเปล่า

เป้าหมายมีไว้พุ่งชน เป็นวลีหนึ่งของโฆษนาน้ำมันเครื่องยี่ห้อหนึ่ง ผมฟังแล้วรู้สึกทึ่งกับคำพูดนี้ เพราะมันโดนใจ แต่ก็อย่างว่า สมัยนี้ใครๆก็สรรหามาพูดได้ แต่จะมีซักกี่คนที่รู้ถึงวิธีการพุ่งชนที่ถูกต้อง
การพุ่งชนเป้าหมาย(Strick) นั้นสำคัญ แต่คุณจะพุ่งชนมันยังไง การพุงชนที่ถูกต้องต้องใช้เวลา โดยส่วนตัวแล้วผมเชื่อว่าเราควรเรียกมันว่าการขุด(Drive) มากกว่า เพราะคุณไม่มีวันทำอะไรสำเร็จได้ ถ้าไม่มีทักษะในตัว และทักษะไม่มีทางสร้างขึ้นมาได้ในชั่วข้ามคืน
การลงทุนกับชีวิตตัวเอง เปรียบได้กับการขุดอุโมงค์ให้ทะลุถึงกัน โดยเริ่มจากจุดเริ่มต้นที่ต่างกันทั้ง๒ ด้าน แล้วให้มาบรรจบกัน นั่นแหละที่ถูกต้อง มีดังนี้
--การขุดอุโมงค์ที่๑ หมายความถึงการขุดด้วยทักษะของตัวเอง(สิ่งที่มี)หรือการทำในสิ่งที่ทำได้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก็ได้ แต่ขอให้ลองทำดู
--การขุดอุโมงค์ที่๒หมายความถึงการขุดด้วยจิตใต้สำนึกของตัวเอง(Genie within)หรือการฝึกพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อชี้นำจิตใต้สำนึ สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณควรรู้ คือพฤติกรรมของเป้าหมาย ว่าเป็นอย่างไร เช่นถ้าคุณต้องการประสบผลสำเร็จในเรื่องต้นไม้ ควรถามตัวเองต่อไปว่า ถ้าเป็นเซียนต้นไม้แล้ว คุณจะทำอะไร?ตอบข้อ๑,๒และอื่นๆ เมื่อรู้คำตอบ ก็ทำเลยไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จหรอก ทำพฤติกรรมของคุณออกมาเลย เพื่อช้นำ จินนี่ของคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

การยิ้มอย่างถูกต้อง/ถูกหลักการ

ในฐานะเป็นฝ่ายเสธ.ฯและเป็นทหารอาชีพ การยิ้มยังต้องมีหลักการที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช่ยิ้มแบบเรื่อยเปื่อย การยิ้มอย่างถูกวิธีมีความสำคัญมาก เพราะคงไม่ใครอยากได้ยินว่า"คุณนี่ยิ้มแบบไม่เต็มใจ"/หรือ"ยิ้มแบบมีวาระซ่อนเร้น"เหมือนผู้ร้ายในละคร ที่เขาทำกัน

การยิ้มที่ถูกต้อง มี๒ปัจจัยของร่างกายที่สำคัญ ได้แก่

๑.การควบคุมกล้ามเนื่อขากรรไกร

๒.การควบคุมกล้ามเนื่อรอบดวงตาหรือที่เรามักเรียกกันว่ารอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตา

กล้ามเนื่อขากรรไกร เราสามารถควบคุมมันได้เวลาเราเริ่มยิ้ม แต่ถ้าคุณไม่ใด้ใช้กล้ามเนื่อรอบดวงตา ในการยิ้มด้วย เรามักเรียกการยิ้มอย่างนั้นว่า " ยิ้มอย่างเสแสร้ง"หรือไม่เต็มใจ

การยิ้มที่ถูกต้อง คือต้องใช้กล้ามเนื้อ ทั้งสองส่วนพร้อมกันเสมอ ถึงจะเรียกว่า"การยิ้มที่เปล่งประกายจากภายใน" แต่เป็นที่น่าเสียใจที่ผมอยากจะบอกว่า ในความเป็นจริงแล้วเราไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื่อรอบดวงตาได้ เพราะมันอยู่เหนือการควบคุมของเรา แต่เราสามารถสั่งทำให้มันทำงานได้ทางอ้อม โดยสั่งผ่านทางจิตใต้สำนึกในตัวเรา(Genie within) วิธีการคือการสร้างความรู้สึก/จินตนาการ เหตุการณ์อะไรก็ได้ที่เรารู้สึกประทับใจหรือมีความสุขที่สุดที่เคยประสบมา นั่นแหละหลังจากนั้นกล้ามเนือ้รอบดวงตาของคุณก็จะเริ่มทำงาน แล้วรอยยิ้มที่ออกมาจากดวงตา ก็จะปรากฏขึ้น แคนี้เองครับ

กล่าวโดยสรุปการยิ้มที่ถูกต้อง ต้องยิ้มพ้ร้อมกับความรู้สึกเสมอ

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

CHANGE

what is the" Bottle Neck "?
-ทุกระบบจะมีเงื่อนไขข้อจำกัดเกิดขึ้นอย่างน้อย ๑ เงื่อนไขเสมอ(Bottle Neck)
-เงื่อนไขข้อจำกัดที่ว่าคือ"อะไรก็ตามที่มาจำกัด ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้"
-เป้าหมายที่แท้จริงในการบริหารงานใดๆก็ตามจะมีเพียงเป้าหมายเดียวเสมอ
-เงื่อนไขข้อจำกัดที่มีอยู่=โอกาสในการปรับปรุง
------กำจัดเงื่อนไขขัอจำกัดที่มีอยู่ให้หมดไป(Loop)-----
อะไรที่จะเปลี่ยน (What to Change?)
จะเปลี่ยนให้เป็นอะไร (Change to What?)
จะเปลี่ยนอย่างไร (How to Change?)

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

อยากรู้ตัวตนของคนที่รัก/อยากรู้ลักษณะเนื้อคู่ของคนที่เรารักนั้นไม่ยาก

อยากรู้ตัวตนที่ต้องการของคนนั้นไม่ยาก.-
๑.ถามเขาคำถามแรกว่าชอบสัตว์เลี้ยงอะไรครับ.(ชื่อสัตว์)
๒ ถามเหตุผลที่เขาชอบ(ลักษณะของมัน)
ทั้ง ๒ ข้อจะสะท้อนถึงลักษณะของจิตใต้สำนึก ที่เราต้องการได้รับ/ถูกมองจากคนอื่น
EX.๑.ชอบสุนัข ๒.เพราะมันซื่อสัตว์ต่อเจ้าของ ไม่มีเล่ย์เหลี่ยม
แสดงว่าเราต้องการ ให้คนอื่นมองว่าเราเป็นคนที่ซื่อตรง,ซื่อสัตย์,ขี้เล่น,สบายๆไม่ซีเรียดและไม่มีพิธรีตอง
แมว:รักอิสระ
ปลา:รักสงบ,พึ่งตัวเองได้
ม้า:เข้มแข็ง,อดทน
เสือ : ดุดัน,ตรงไปตรงมา
อยากรู้ลักษณะเนิ้อคู่ของคนนั้น.-
๑.ถามเขาคำถามแรกว่าชอบสัตว์เลี้ยงรองลงมา.(ชื่อสัตว์)
๒.ถามเหตุผลที่เขาชอบ(ลักษณะของมัน)
ทั้ง ๒ ข้อจะสะท้อนถึงลักษณะเชิงสัญญาลักษณ์ ของเพศตรงข้ามที่เราชอบ.- แค่นี้เอง
 

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

สุดยอดของการเรียนรู้

สุดยอดของการเรียนรู้
มีคนเคยถาม เพลโต นักปราชญ์ ที่มีชื่อเสียงของโลกว่า การแข่งขันกีฟา เรามักมีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะเลิศแต่ทำไมถึงไม่มีการมอบรางวัล สำหรับนักปราชญ์ ท่านเพลโตกล่าวตอบว่า" ส่วนใหญ่ในการแข่งขันกีฟา เรามอบรางวัลให้แก่นักกีฟา เพราะรางวัลนั้นมีค่ากว่านักกีฟา แต่ที่ไม่มอบให้แก่นักปราชญ์เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะมีค่ามากกว่าความรู้อีกแล้วในโลกนี้" ความรู้จึงมีค่ามากที่สุด
คนที่มีเสน่ย์หมายถึงคนที่มีความเปล่งประกายจากภายใน ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ ความรู้นั่นเอง แต่ความรู้ที่เราพูดถึง มันเป็นความรู้ลักษณะไหนกันหละ ?
คำตอบที่ชัดเจนที่สุดสำหรับผมคือลักษณะความรู้ที่เป็นระบบ ดีที่สุด หรือการเรียนรู้ที่เรามักเรียกกันว่า การเรียนรู้แบบความคิดรวบยอด /องค์รวม นั่นเอง
การเรียนแบบความคิดรวบยอด เป็นที่มาของศิลป(ART) หรือการประยุกต์สร้างสรรค์ นั้นสำคัญที่สุด คนเรามักต่างกันที่ความคิด ดังนั้นจึงมักต่างกันที่วิธีการเรียนรู้
การเรียนแบบศิลป : หมายถึงการเรียนรู้ในภาพรวม/เชิงโครงสร้างก่อน แล้วค่อยเจาะลึกลงในรายละเอียด เปรียบเสมือนการเรียนแบบนก(นกอินทรย์) ที่มองเห็นโครงสร้างของผืนป่า(นกมีวิสัยน์ทัศน์)เวลาต้องการกินเหยื่อก็โฉบลงมาอย่างแม่นยำ การเรียนแบบนี้เขาเรียกว่าการเรียนแบบยุทธศิลป์ (Operatio Art) เพื่อมุ่งตอบคำถามที่สำคัญที่สุดของความรู้ ๓ ประการคือ เมื่อใด(when),ที่ไหน(where),ความมุ่งประสงค์(why) ผลที่ตามมานั้นคือสิ่งที่ทุกคนปราถนาอยากจะมีไว้ประจำตัวนั่นก็คือสิ่งที่เรามักเรียกกันว่าการประยุกต์สร้างสรรค์(Creativity)นั่นเอง
แล้วสิ่งที่เรียกว่า Creativity ในตัวเราจะมากหรือน้อย ดูจากตรงไหน?
ตอบ มีนิทานเรื่องหนึ่งเล่าว่า กาลครั้งหนึ่ง มีชายชื่อนกกระจิบ ต้องการไฝ่ฝันจะมี Creativity ในตัวจึงไปร่ำเรียนวิชาที่สำนักวิชาชื่อดัง การเรียนของเขามีดังนี้
๑.เรียนตามเอกสารที่อาจารย์ แจก
๒.เปิดอ่านทีละหน้า ไปเรื่อยๆ จนจบ
๓.เรียนแบบย้อนกลับ จากส่วนย่อย ไปหาส่วนใหญ่(ศาสตร์ไปหาศิลป์)
๔.ทำสรุปใว้เพื่อเตรียมสอบ
คนที่เรียนแบบนี้ผมขอเรียกว่าเรียนแบบนกกระจิบ(นกไม่มีวิสัยทัศนนกฉลาดน้อย) มักมองเห็นแต่ต้นไม้ที่มันเกาะ และมักตกเป็นเหยื่อของนกอินทรย์เสมอ

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดทฤษฏีในการพัฒนาประเทศ

หลักการของทฤษฏีกระแสหลัก
โดยรวมแล้วประกอบด้วย ๒ ทฤษฏีหลักๆได้แก่
๑.ทฤษฎีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) มีประเด็นที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
-สาเหตุของการพัฒนา แนวทางในการพัฒนาคือ ปัจจัยภายในทำให้เกิดการพัฒนาในประเทศกำลังพัฒนา
-ยุทธศาสตร์พัฒนา แนวทางในการพัฒนาคือ ยศ.แบบมุ่งไปข้างนอก
-กระบวนการพัฒนา แนวทางในการพัฒนาคือ เป็นเส้นตรงค่อยเป็นค่อยไป
-เป้าหมาย แนวทางการพัฒนาคือ Economic Growth หรือการเจริญเติบโตทางเศรษกิจและความมีเสถียรภาพ
-แนวคิดหลักที่สำคัญที่สุดของ Economic Growth คือแนวคิด Neo-Classical Economic มีสมมุติฐาน ดังนี้
-รัฐแทรกแซงให้น้อยที่สุด เน้นกลไกตลาด
- รัฐอำนวยความสะดวก
-นโยบายแรงงาน แรงงานต้องมีราคาไม่สูง เพื่อส่งเสริมการลงทุน
บทสรุปที่น่าสนใจของแนวคิดแบบEconomic Growth กล่าวคือเกิดปัญหาการว่างงานสูงในเขตเมืองและเขตชนบท ดังนั้นในช่วงต้นทศวรรษปี 1970 จึงเกิดกระแสใหม่ ของการพัฒนาที่ให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการกระจายรายได้ (Redistribution with Growth)
๒.ทฤษฎีภาวะทันสมัย (Modernization) มีประเด็นที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
-แนวคิดทฤษฎีภาวะทันสมัยเป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าความเจริญหรือการพัฒนาสามารถที่จะแผ่ขยายจากสังคม หรือประเทศที่เจริญกว่าไปยังสังคมหรือประเทศที่ล้าหลัง
-โดยประเทศที่เจริญกว่าเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่เห็นว่าจำเป็น เพื่อให้ประเทศที่ล้าหลังสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะทางเศรษฐกิจ,สังคม,การเมืองและการบริหาร ให้มีลักษณะเหมือนกับประเทศที่เจริญแล้วเคยใช้มา
-MODERNIZATION เกิดการเคลื่อนไหว 3 รูปแบบการเคลื่อนไหวทางกายภาพ ,การเคลี่อนไหวทางจิต และการเคลื่อนไหวทางสังคม

ซึ่งทั้ง ๒ แนวคิดมีอิทธิพลมาจากโลกตะวันตกที่ต้องการจะพัฒนาประเทศที่กำลังพัฒนาต่าง ๆ ให้มีความทันสมัย โดยยึดตัวแบบ (Model) ของประเทศตะวันตกเป็นแม่แบบ ซึ่งถ้าหากจะกล่าวไปแล้วความสำเร็จของการพัฒนาตามแนวกระแสหลักนี้มิได้จะสำเร็จได้ตามเป้าหมายทุกประการ

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การมีสมองที่สมดุลแบบContingencyเป็นสิ่งที่พึ่งปราถนา

สมองคนเรามีล้วนมีสภาพประกอบด้วย ๒ ระบบในตัวเองหรือที่เราเรียกว่าอารมณ์ของสมอง กล่าวคือสมองคนเราจะมีสภาพที่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยระบบหนึ่ง และสภาพทีต้องการความท้าทายและริเริ่มในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นอีกระบบหนึ่ง
ทั้งสองระบบที่กล่าวมาข้างต้น สภาพที่ต้องการความมั่นคง และปลอดภัยนั้นเปรียบเสมือนฐานที่มั่นคง ที่คนทุกๆคนควรต้องไว้เป็นหลักในชีวิตประกอบด้วย
ความมั่นคงทางจิตใจได้แก่ความหนักแน่น,ความมั่นใจในตัวเองหรือการมีหลักคิดที่มั่นคง
ความมั่นคงทางการกระทำที่แสดงออกเช่น การใส่ใจ,เป็นกำลังใจหรือสนใจในสิ่งที่ทำ
เช่น การดูแลเด็กเล็ก หากต้องการให้เด็กมีการกล้าในการแสดงออกซึ่งความริเริ่มและสร้างสรรค์ มีความมั่นใจในตัวเอง พ่อแม่ควรทำหน้าที่เป็นฐานที่ดีในเรื่องการให้กำลังใจ,สนใจในสิ่งที่ลูกทำ,ใส่ใจและกำกับดูแลอยู่ห่างๆ แต่ไม่ใช้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวด
ซึ่งหากมีฐานที่มั่นคงแล้ว เด็กก็สามารถที่จะต่อสู่กับความท้าทาย,กล้าแสดงออกและมีความคิดเริ่มสร้างสรรค์ มีทัศนะคติเชิงบวก(การล้มเหลงเชิงบวก)ในการมีชีวิตอยู่ต่อไป
ดังนั้นการทำงานหรือการเรียนรู้แบบสมดุลระหว่าง แบบContingencyจึงเป็นสิ่งที่พึ่งกระทำมากที่สุดของสมองคนเรา เพราะจะเกิดความรู้สึกตื่นตัวและสนุก
"ความปลอดภัย(คาดเดาได้) >ความไม่แน่นอน(คาดเดาไม่ได้)" จะรู้สึกเบื่อ
"ความปลอดภัย(คาดเดาได้) <ความไม่แน่นอน(คาดเดาไม่ได้)" จะรู้สึกว่ามันยากเกินไป
"ความปลอดภัย(คาดเดาได้)=ความไม่แน่นอน(คาดเดาไม่ได้)" แบบไม่ง่ายและก็ไม่ยากจนเกินไป จะดีที่สุด

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

มุมมองการเมืองไทยตามแนวคิดทฤษฎีเชิงโครงสร้าง

แนวคิดทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่
ออกุสท์ คอมท์ : กล่าวว่าโครงสร้างของสังคมประกอบด้วยส่วนต่างๆเช่นเดียวกับร่างกายของมนุษย์ที่ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆส่วนต่างๆของสังคม จะทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่ต้องประสานกันอย่างเป็นระบบ สังคมจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีดุลยภาพ (Equilibrium)
เฮอร์เบิร์ท สเปนเซอร์ :มีความเห็นเหมือนกับ ออกุสท์ คอมท์ ทีเปรียบเทียบโครงสร้างในสังคมเปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆในร่างกายสังคมจะวิวัฒนาการเพิ่มความสลับซับซ้อน และมีความหลากหลายต่างไปจากโครงสร้างเดิมเสมอการเพิ่มจำนวนของสมาชิกในสังคมจะก่อให้เกิดความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น จึงเกิดการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ(Specialization)ส่วนต่างๆในสังคมยังต้องประสานกัน(Integration)เพื่อความสมดุลย์
เอมิลี เดอไคม์ :กล่าวว่าสังคมจะอยู่รอดได้ด้วยการยึดเหนี่ยวทางสังคม(Social Solidarity) คือการที่บุคคลในสังคมมีสิ่งยึดถือร่วมกันในสังคมขนาดเล็กหรือสังคมที่มีโครงสร้างง่ายๆ การยึดเหนี่ยวทางสังคมจะเป็นแบบ Mechanical Solidality คือ ในสังคมขนาดใหญ่หรือสังคมที่ซับซ้อนการยึดเหนี่ยวทางสังคมจะเป็นแบบ Organic Solidality
Radcliffe-Brown :กล่าวว่าสังคม เปรียบเสมือนอินทรีย์ ซึ่งมีชีวิต มีการเกิด เจริญเติบโต อาพาธเจ็บป่วยได้ เยียวยารักษาได้ เมื่อหายแล้วก็จะก้าวเดินต่อไปได้ร่างกายมนุษย์มีอวัยวะเป็นส่วนประกอบเพื่อการคงอยู่ทั้งอวัยวะของคนและโครงสร้างของสังคมต่างก็ทำหน้าที่(เหมือนกัน) ร่างกายมนุษย์นั้นเมื่อเจ็บป่วยลงก็สามารถเยียวยารักษาได้เป็นบางอย่าง คนจึงตายได้แต่สังคมไม่มีวันตายหลังจากที่ได้ปรับตัวให้พัฒนาขึ้นแล้วสังคมจะก้าวเดินต่อไปได้
แนวคิดโดยรวมทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ ๖ ประเด็น(โดยสรุป)
๑.มองสังคมเป็นระบบ
๒.สังคมเป็นระบบใหญ่ โดยมีระบบย่อย
๓.แต่ละระบบมีโครง สร้างของตัวเอง
๔.ภายในระบบสังคมมีความสัมพันธ์ในลักษณะยังประโยชน์ให้เกิดสภาพสมดุลย์
๕.ทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๖.ดังนั้นสังคมที่สมดุลย์ ต้องเป็นสมดุลย์ที่ เคลื่อนที่ (Moving Equilibrium)
ผมเกริ่นนำข้อเท็จจริงที่เป็นทั้งความรู้(Knowlege) ความจริง(Fact) ให้ท่านผู้อ่านทราบเพื่อปูพื้นฐานในแง่ของทฤษฎีเชิงสังคมศาสตร์เพื่อมุ่งที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม อย่างใดอย่างหนึ่งตามหลักเหตุผล โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์ทางสังคม
สิ่งที่ผมต้องการจะสือให้ท่านผู้อ่าน ในลำดับต่อไปได้แก่เรื่องระบบทางสังคมของไทยควรจะต้องทำหน้าที่ 4 ประการดังนี้
สถาบันเศรษฐกิจ (Adaptation)ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะคิดหาเทคนิควิธีการต่าง ๆ และวิธีการจัดการกับทรัพยากรให้กับสมาชิกในสังคมได้อย่างเหมาะสม
สถาบันพระมหากษัตริย์(Integration) ที่มีบทบาทสำคัญต้องทำหน้าที่ในการประสานคนในสังคมให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สถาบันทางการเมือง (Goal Attainment) จะมีบทบาทที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน หรือ การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
สถาบันศาสนา /สถาบันศาล /ครอบครัว (Latency)ช่วยลดความตรึงเครียดภายในหน่วยหรือส่วนต่าง ๆ ภายในระบบเพื่อก่อให้เกิดความสมดุลย์ในระบบสังคม
ระบบสังคมที่สามารถดำรงอยู่และพัฒนาต่อไปได้นั้น สถาบันทั้ง ๔ ต้องมีการปรับสมดุลย์ ซึ่งกันและกัน เมื่อสถาบันไม่ทำหน้าที่หรือทำไม่สมบูรณ์ (Dysfunction) ส่งผลทำให้สถาบันอื่น ๆ ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ตาม ทำให้สังคมขาดความสมดุลย์ มีกระบวนการดังนี้
Dysfuntion
Problem
Non Equilibrium
ความตึงเครียด+ความกดดัน
Moving Equilibrium
ทำไม่ได้จะเกิดการล่มสลายของสังคม
คำถามที่ผมต้องการจะถามผู้อ่าน/ผู้รู้ นั้นมีประเด็นว่า ปัจจุบันเราเป็นสังคมที่ล่มสลาย( FAILED STATES)ไปแล้วหรือยัง หรือเรากำลังปรับสมดุลย์ ระหว่างผู้มีอำนาจในสังคม(Moving Equilibrium)หรือเรากำลังจัดการกับความเครียดในสังคม (Latency)

การเรียนรู้แบบนกอินทรีย์

ผมมีเคยประสบการณ์ด้านการเรียน มาพอสมควร และมีสิ่งหนึ่งที่ตัวเองค้นพบ และอยากแสดงความคิดเห็น ในเรื่องระบบการเรียนในสังคมไทย โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเมืองไทยเราเน้นการเรียนเพื่อการแข่งขันมากจนเกินไป แทนที่จะเป็นการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การเรียนแบบศาสตร์ไปหาศิลป(ส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่หรือที่เราเรียกว่าการเรียนตามเอกสาร) พบมากในการเรียนในปัจจุบัน อาจจะด้วยปัจจัยในเรื่องเวลาหรือตารางการเรียนที่บีบบังคับให้ต้องสอนไปตามเวลา ผมพบว่ามันไม่ใด้สร้างผลลัพธ์ในแง่การประยุกต์สร้างสรรค์ให้เกิดกับผู้เรียนเลยแม้แต่น้อย
การเรียนที่ถูกต้องคือการเรียนแบบนก(นกอินทรีย์)คือการเรียนจากภาพรวมไปสู่ภาพย่อย(ศิลปไปหาศาสตร์) ซึ่งก่อนทำการเรียน ผู้เรียนควรมีความรู้ในเรื่องของโครงสร้างของวิชาแบบองค์รวมก่อน แล้วค่อยลงลึกในรายละเอียด เปรียบเสมือนการโฉบของนกจากที่สูงลงมายังเป้าหมาย ประโยชน์ที่ได้รับคือเกิดการความคิดประยุกต์สร้างสรรค์,รู้ว่า(ขอเน้น)เรื่องดังกล่าวเริ่มและจบลงอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาแบบMind Map ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ผมทำคะแนนได้ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง แต่ผมกลับมีความรู้แบบART มากกว่าคนอื่น(Art หมายถึงศิลป์ในการตัดสินใจว่าจะใช้ความรู้อะไร-ที่ไหน-และเพื่ออะไร)
ประการสุท้ายสำหรับผู้ต้องการเป็นผู้บริหาร/นักการทหารที่ดีนั้น เราจะตัดสินกันที่ ผู้บัญชาการรบและฝ่ายยุทธการของฝ่ายไหน มีศิลป หรือ Art ในการที่จะจินตนาการวาดภาพการรบ มองเหตุการณ์แบบองค์รวม เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ประยุกต์เอาหลักการที่เรียนมา มาใช้ได้อย่างประสานสอดคล้อง เปรียบเหมือนนกนกอินทรีย์ที่บินสูงมองเห็นโครงสร้างของผืนเห็นป่า เวลาจะกินเหยื่อก็โฉบลงมาจากที่สูงอย่างแม่นยำ แตกต่างจากนกกระจอกที่มองเห็นแต่ต้นไม้ที่มันเกาะ เป็นนกที่ไร้ซึ่งวิสัยทัศน์ หรือ นกฉลาดน้อย วิชาที่ร่ำเรียนมาก็เอามาประยุกต์ใช้ไม่เป็น และมักจะตกเป็นเหยื่อของเหยี่ยวหรือนกอินทรีย์เสมอ