วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

การเรียนรู้แบบนกอินทรีย์

ผมมีเคยประสบการณ์ด้านการเรียน มาพอสมควร และมีสิ่งหนึ่งที่ตัวเองค้นพบ และอยากแสดงความคิดเห็น ในเรื่องระบบการเรียนในสังคมไทย โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าเมืองไทยเราเน้นการเรียนเพื่อการแข่งขันมากจนเกินไป แทนที่จะเป็นการนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม
การเรียนแบบศาสตร์ไปหาศิลป(ส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่หรือที่เราเรียกว่าการเรียนตามเอกสาร) พบมากในการเรียนในปัจจุบัน อาจจะด้วยปัจจัยในเรื่องเวลาหรือตารางการเรียนที่บีบบังคับให้ต้องสอนไปตามเวลา ผมพบว่ามันไม่ใด้สร้างผลลัพธ์ในแง่การประยุกต์สร้างสรรค์ให้เกิดกับผู้เรียนเลยแม้แต่น้อย
การเรียนที่ถูกต้องคือการเรียนแบบนก(นกอินทรีย์)คือการเรียนจากภาพรวมไปสู่ภาพย่อย(ศิลปไปหาศาสตร์) ซึ่งก่อนทำการเรียน ผู้เรียนควรมีความรู้ในเรื่องของโครงสร้างของวิชาแบบองค์รวมก่อน แล้วค่อยลงลึกในรายละเอียด เปรียบเสมือนการโฉบของนกจากที่สูงลงมายังเป้าหมาย ประโยชน์ที่ได้รับคือเกิดการความคิดประยุกต์สร้างสรรค์,รู้ว่า(ขอเน้น)เรื่องดังกล่าวเริ่มและจบลงอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาแบบMind Map ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ผมทำคะแนนได้ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง แต่ผมกลับมีความรู้แบบART มากกว่าคนอื่น(Art หมายถึงศิลป์ในการตัดสินใจว่าจะใช้ความรู้อะไร-ที่ไหน-และเพื่ออะไร)
ประการสุท้ายสำหรับผู้ต้องการเป็นผู้บริหาร/นักการทหารที่ดีนั้น เราจะตัดสินกันที่ ผู้บัญชาการรบและฝ่ายยุทธการของฝ่ายไหน มีศิลป หรือ Art ในการที่จะจินตนาการวาดภาพการรบ มองเหตุการณ์แบบองค์รวม เห็นความเชื่อมโยงของสิ่งต่างๆ ประยุกต์เอาหลักการที่เรียนมา มาใช้ได้อย่างประสานสอดคล้อง เปรียบเหมือนนกนกอินทรีย์ที่บินสูงมองเห็นโครงสร้างของผืนเห็นป่า เวลาจะกินเหยื่อก็โฉบลงมาจากที่สูงอย่างแม่นยำ แตกต่างจากนกกระจอกที่มองเห็นแต่ต้นไม้ที่มันเกาะ เป็นนกที่ไร้ซึ่งวิสัยทัศน์ หรือ นกฉลาดน้อย วิชาที่ร่ำเรียนมาก็เอามาประยุกต์ใช้ไม่เป็น และมักจะตกเป็นเหยื่อของเหยี่ยวหรือนกอินทรีย์เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น