วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

มุมมองการเมืองไทยตามแนวคิดทฤษฎีเชิงโครงสร้าง

แนวคิดทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่
ออกุสท์ คอมท์ : กล่าวว่าโครงสร้างของสังคมประกอบด้วยส่วนต่างๆเช่นเดียวกับร่างกายของมนุษย์ที่ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆส่วนต่างๆของสังคม จะทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนแต่ต้องประสานกันอย่างเป็นระบบ สังคมจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีดุลยภาพ (Equilibrium)
เฮอร์เบิร์ท สเปนเซอร์ :มีความเห็นเหมือนกับ ออกุสท์ คอมท์ ทีเปรียบเทียบโครงสร้างในสังคมเปรียบเสมือนอวัยวะต่างๆในร่างกายสังคมจะวิวัฒนาการเพิ่มความสลับซับซ้อน และมีความหลากหลายต่างไปจากโครงสร้างเดิมเสมอการเพิ่มจำนวนของสมาชิกในสังคมจะก่อให้เกิดความแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น จึงเกิดการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ(Specialization)ส่วนต่างๆในสังคมยังต้องประสานกัน(Integration)เพื่อความสมดุลย์
เอมิลี เดอไคม์ :กล่าวว่าสังคมจะอยู่รอดได้ด้วยการยึดเหนี่ยวทางสังคม(Social Solidarity) คือการที่บุคคลในสังคมมีสิ่งยึดถือร่วมกันในสังคมขนาดเล็กหรือสังคมที่มีโครงสร้างง่ายๆ การยึดเหนี่ยวทางสังคมจะเป็นแบบ Mechanical Solidality คือ ในสังคมขนาดใหญ่หรือสังคมที่ซับซ้อนการยึดเหนี่ยวทางสังคมจะเป็นแบบ Organic Solidality
Radcliffe-Brown :กล่าวว่าสังคม เปรียบเสมือนอินทรีย์ ซึ่งมีชีวิต มีการเกิด เจริญเติบโต อาพาธเจ็บป่วยได้ เยียวยารักษาได้ เมื่อหายแล้วก็จะก้าวเดินต่อไปได้ร่างกายมนุษย์มีอวัยวะเป็นส่วนประกอบเพื่อการคงอยู่ทั้งอวัยวะของคนและโครงสร้างของสังคมต่างก็ทำหน้าที่(เหมือนกัน) ร่างกายมนุษย์นั้นเมื่อเจ็บป่วยลงก็สามารถเยียวยารักษาได้เป็นบางอย่าง คนจึงตายได้แต่สังคมไม่มีวันตายหลังจากที่ได้ปรับตัวให้พัฒนาขึ้นแล้วสังคมจะก้าวเดินต่อไปได้
แนวคิดโดยรวมทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ ๖ ประเด็น(โดยสรุป)
๑.มองสังคมเป็นระบบ
๒.สังคมเป็นระบบใหญ่ โดยมีระบบย่อย
๓.แต่ละระบบมีโครง สร้างของตัวเอง
๔.ภายในระบบสังคมมีความสัมพันธ์ในลักษณะยังประโยชน์ให้เกิดสภาพสมดุลย์
๕.ทุกสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
๖.ดังนั้นสังคมที่สมดุลย์ ต้องเป็นสมดุลย์ที่ เคลื่อนที่ (Moving Equilibrium)
ผมเกริ่นนำข้อเท็จจริงที่เป็นทั้งความรู้(Knowlege) ความจริง(Fact) ให้ท่านผู้อ่านทราบเพื่อปูพื้นฐานในแง่ของทฤษฎีเชิงสังคมศาสตร์เพื่อมุ่งที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม อย่างใดอย่างหนึ่งตามหลักเหตุผล โดยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของปรากฏการณ์ทางสังคม
สิ่งที่ผมต้องการจะสือให้ท่านผู้อ่าน ในลำดับต่อไปได้แก่เรื่องระบบทางสังคมของไทยควรจะต้องทำหน้าที่ 4 ประการดังนี้
สถาบันเศรษฐกิจ (Adaptation)ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่จะคิดหาเทคนิควิธีการต่าง ๆ และวิธีการจัดการกับทรัพยากรให้กับสมาชิกในสังคมได้อย่างเหมาะสม
สถาบันพระมหากษัตริย์(Integration) ที่มีบทบาทสำคัญต้องทำหน้าที่ในการประสานคนในสังคมให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
สถาบันทางการเมือง (Goal Attainment) จะมีบทบาทที่สำคัญต่อการปฏิบัติงาน หรือ การดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ
สถาบันศาสนา /สถาบันศาล /ครอบครัว (Latency)ช่วยลดความตรึงเครียดภายในหน่วยหรือส่วนต่าง ๆ ภายในระบบเพื่อก่อให้เกิดความสมดุลย์ในระบบสังคม
ระบบสังคมที่สามารถดำรงอยู่และพัฒนาต่อไปได้นั้น สถาบันทั้ง ๔ ต้องมีการปรับสมดุลย์ ซึ่งกันและกัน เมื่อสถาบันไม่ทำหน้าที่หรือทำไม่สมบูรณ์ (Dysfunction) ส่งผลทำให้สถาบันอื่น ๆ ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ตาม ทำให้สังคมขาดความสมดุลย์ มีกระบวนการดังนี้
Dysfuntion
Problem
Non Equilibrium
ความตึงเครียด+ความกดดัน
Moving Equilibrium
ทำไม่ได้จะเกิดการล่มสลายของสังคม
คำถามที่ผมต้องการจะถามผู้อ่าน/ผู้รู้ นั้นมีประเด็นว่า ปัจจุบันเราเป็นสังคมที่ล่มสลาย( FAILED STATES)ไปแล้วหรือยัง หรือเรากำลังปรับสมดุลย์ ระหว่างผู้มีอำนาจในสังคม(Moving Equilibrium)หรือเรากำลังจัดการกับความเครียดในสังคม (Latency)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น