วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การมีสมองที่สมดุลแบบContingencyเป็นสิ่งที่พึ่งปราถนา

สมองคนเรามีล้วนมีสภาพประกอบด้วย ๒ ระบบในตัวเองหรือที่เราเรียกว่าอารมณ์ของสมอง กล่าวคือสมองคนเราจะมีสภาพที่ต้องการความมั่นคงและปลอดภัยระบบหนึ่ง และสภาพทีต้องการความท้าทายและริเริ่มในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นอีกระบบหนึ่ง
ทั้งสองระบบที่กล่าวมาข้างต้น สภาพที่ต้องการความมั่นคง และปลอดภัยนั้นเปรียบเสมือนฐานที่มั่นคง ที่คนทุกๆคนควรต้องไว้เป็นหลักในชีวิตประกอบด้วย
ความมั่นคงทางจิตใจได้แก่ความหนักแน่น,ความมั่นใจในตัวเองหรือการมีหลักคิดที่มั่นคง
ความมั่นคงทางการกระทำที่แสดงออกเช่น การใส่ใจ,เป็นกำลังใจหรือสนใจในสิ่งที่ทำ
เช่น การดูแลเด็กเล็ก หากต้องการให้เด็กมีการกล้าในการแสดงออกซึ่งความริเริ่มและสร้างสรรค์ มีความมั่นใจในตัวเอง พ่อแม่ควรทำหน้าที่เป็นฐานที่ดีในเรื่องการให้กำลังใจ,สนใจในสิ่งที่ลูกทำ,ใส่ใจและกำกับดูแลอยู่ห่างๆ แต่ไม่ใช้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวด
ซึ่งหากมีฐานที่มั่นคงแล้ว เด็กก็สามารถที่จะต่อสู่กับความท้าทาย,กล้าแสดงออกและมีความคิดเริ่มสร้างสรรค์ มีทัศนะคติเชิงบวก(การล้มเหลงเชิงบวก)ในการมีชีวิตอยู่ต่อไป
ดังนั้นการทำงานหรือการเรียนรู้แบบสมดุลระหว่าง แบบContingencyจึงเป็นสิ่งที่พึ่งกระทำมากที่สุดของสมองคนเรา เพราะจะเกิดความรู้สึกตื่นตัวและสนุก
"ความปลอดภัย(คาดเดาได้) >ความไม่แน่นอน(คาดเดาไม่ได้)" จะรู้สึกเบื่อ
"ความปลอดภัย(คาดเดาได้) <ความไม่แน่นอน(คาดเดาไม่ได้)" จะรู้สึกว่ามันยากเกินไป
"ความปลอดภัย(คาดเดาได้)=ความไม่แน่นอน(คาดเดาไม่ได้)" แบบไม่ง่ายและก็ไม่ยากจนเกินไป จะดีที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น